ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming
Languages)
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน
มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ
การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง
จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว
เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน
เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม
จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้
เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
1. ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้
ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1
นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ซึ่ง คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่องการใช้ภาษาเครื่องถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที
แต่มนุษย์จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำภาษาเครื่องได้ยาก
ดังนั้นจึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร
2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง
ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตาม ภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก
โดยใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์ (Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
3. ภาษาระดับสูง (High-Level Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements
ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ
ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น
ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์
ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องมีอยู่ 2 ชนิด คือ คอมไพเลอร์ (Compiler)
และ อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
คอมไพเลอร์
จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน
แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น
เมื่อทำเสร็จแล้วจึงแปลคำสั่งลำดับต่อไป
ดังนั้นข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง
สำหรับตัวอย่างภาษาระดับสูง ได้แก่ ภาษาโคบอล(COBOL) ฟอร์แทรน
(FORTRAN) เบสิก (Basic) ปาสคาล
(Pascal) และภาษาซี(C) เป็นต้น
3.4 ภาษายุคที่ 4 (Fourth-Generation
Languages: 4GL)
เนื่องจากภาษาระดับสูงนั้นเป็นภาษาที่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน(Procedural)
จึงทำให้ในบางครั้งจำเป็นต้องเขียนโค้ดโปรแกรมที่ยาวยืดเยื้อกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ดังนั้นจึงเกิดภาษายุคที่ 4 ขึ้น ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงาน (Non-Procedural)
เพียงแต่สั่งว่าต้องการข้อมูลอะไร ก็สามารถแสดงผลลัพธ์ได้ตามต้องการ
ตัวอย่างภาษายุคที่ 4 เช่น ชุดคำสั่งภาษา SQL (Structured Query Language)
3.5 ภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented
Languages)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 ที่เรียกว่า
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming: OOP) ซึ่งจะมองทุกสิ่งเป็นวัตถุ
(Object) โดยวัตถุจะประกอบด้วยข้อมูล (Data) และวิธีการ
(Method) และจะมีคลาส (Class) เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของวัตถุ
รวมทั้งความสามารถในการถ่ายทอดคุณสมบัติ (Inheritance) การ
Encapsulation และการนำกลับมาใช้ใหม่
ภาษาเชิงวัตถุสามารถนำมาพัฒนาระบบงานที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างภาษานี้เช่น
Visual Basic, C++ และ JAVA เป็นต้น